อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและการส่งออกของประเทศไทย เป็นหนึ่งในฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะประเทศไทยถือได้ว่าเป็นฐานการผลิต
และการส่งออกสินค้าระดับโลก แต่ในอดีตกว่าอุตสาหกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
จะพัฒนาและรวมกันเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญได้นั้นต้องใช้ระยะเวลายาวนานที่จะรู้จักหลายขั้นตอนกว่าจะเริ่มทำการค้า เพราะขาดสื่อกลางในการช่วยกันผลักดันที่จะเชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมให้มาจับมือร่วมกันในการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพในระดับสากล สามารถส่งออกได้ จึงก่อให้เกิด "ชมรมส่งเสริมผู้รับช่วงการผลิต" ในปี 2542 โดยกลุ่มสมาชิกผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ทำกิจกรรม ผู้ซื้อพบผู้ขาย (VMC) ร่วมกับหน่วยพัฒนาการเชื่องโยงอุตสาหกรรม (BUILD) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยพาสมาชิกผู้ผลิตไทยไปพบกับกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นโรงงานต่างๆ ทั่วประเทศ ที่มาลงทุนในประเทศไทย เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ เครื่องจักร และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ เป็นต้น กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นจาก "ชมรมส่งเสริมผู้รับช่วงการผลิต" ได้ก่อให้เกิดประโยชน์และเกิดการพัฒนาไปสู่กลุ่มของอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิต และบริการที่เข้มแข็งสามารถผลิตชิ้นส่วนสนับสนุนได้ในทุกอุตสาหกรรม และด้วยจำนวนสมาชิกที่มีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความเข้มแข็งของกลุ่มพันธมิตรต่างๆ ของสมาคม จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็น “สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย” ในปี 2546 สมาคมจึงเป็นสื่อกลาง และแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้ผู้ประกอบการผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย ให้มีศักยภาพ เทคโนโลยี มีมาตรฐานสากล สร้างความหลากหลายของสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมต่างๆ จนกลายเป็น Word Sourcing Hub ผู้นำการรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนในระดับโลก ปัจจุบันสมาคมไทยซับคอน มีสมาชิกมากกว่า 400 บริษัท
สามารถแบ่งสมาชิกตามวัตถุดิบและกระบวนการผลิตได้เป็น 4 กลุ่ม
สมาคมจึงเป็นสื่อกลาง และแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้ผู้ประกอบการผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย ให้มีศักยภาพ เทคโนโลยี มีมาตรฐานสากล สร้างความหลากหลายของสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมต่างๆ จนกลายเป็น Word Sourcing Hub ผู้นำการรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนในระดับโลก ปัจจุบันสมาคมไทยซับคอน มีสมาชิกมากกว่า 400 บริษัท และสามารถแบ่งกลุ่มสมาชิกตามประเภทอุตสาหกรรม ได้เป็น 16 กลุ่มอุตสาหกรรม
1.1 อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics & Automation)
1.2 อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital & Software)
1.3 อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
1.4 อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub, Medical Parts & Equipment)
1.5 อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
1.6 อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (Defense Industry)
1.7 อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Way Systems)
1.8 อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next generation automotive)
1.9 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
1.10 อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (Supporting Biotechnology)
1.11 อุตสาหกรรมชิ้นส่วน และเครื่องจักรการแปรรูปอาหาร (Parts/ Machine of Food for the Future)
ด้วยวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิก ให้มีความสามารถในการเชื่อมโยงธุรกิจ ยกระดับศักยภาพในด้านต่างๆ ทั้งการผลิต, การจัดการ, การตลาด, การจัดซื้อและข้อมูลข่าวสาร ในระดับมาตรฐานสากล
ด้วยวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิก ให้มีความสามารถในการเชื่อมโยงธุรกิจ ยกระดับศักยภาพในด้านต่างๆ ทั้งการผลิต, การจัดการ, การตลาด, การจัดซื้อและข้อมูลข่าวสาร ในระดับมาตรฐานสากล
• ที่จะเชื่อมโยงสถาบัน, หน่วยงาน, องค์กรต่างๆ ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน
• เพื่อข้อมูลข่าวสาร, ความรู้, วิทยาการใหม่ๆ และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มสมาชิกฯ • สนับสนุนให้มีการซื้อ-ขายในหมู่สมาชิก เพื่อร่วมกันพัฒนาสินค้าแบบครบวงจร (Whole Set) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
• ได้รับสิทธิต่างๆในการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคม เช่น กิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน, การเข้าร่วมอบรมและสัมนาที่สมาคมฯ จัดให้กับสมาชิกเพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพให้มีความพร้อมสําหรับการแข่งขันในระดับสากล เช่น การจัดการอบรมและสอบเทียบจนได้มาตราฐานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่น ISO9000, TS16949
• ลงข้อมูลบริษัททั้งในเว็บไชต์สมาคมฯและหนังสือทําเนียบสมาคมฯ(Directory) และนําไปประชาสัมพันธ์ตามงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ • กิจกรรมส่งเสริมการตลาดให้แก่สมาชิก โดยนําสมาชิกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านชิ้นส่วนระดับแนวหน้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น Subcon Thailand, Thailand Auto parts and Accessories: TAPA, METALEX Thailand, M Fair Thailand, Midest Paris (at France), Hannover Messe (at Germany), MTA Vietnam, Manufacturing Indonesia, International Metalworking Philippines และอื่นๆ เป็นประจําทุกปี
โดยได้รับการสนับสนุนการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าจากภาครัฐ เช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIP) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อีกทั้งสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทยได้ตระหนัก ถึงการสร้างเครือข่ายในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วน ในทวีปเอเซีย เช่น อินเดีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม และหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดญี่ปุ่น เป็นต้น
จากความทุ่มเทในการบริหารงานและจัดกิจกรรมในมิติต่างๆให้สมาชิกอย่างมีคุณภาพ สมาคมจึงได้รับรางวัล “สมาคมการค้าดีเด่นประจําปี 2559-2560” จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีถึงคุณภาพและมาตรฐานในการดําเนินงานของสมาคมเพื่อหมู่มวลสมาชิก ทั้งหมดนี้จึงเป็นภาระกิจอันสําคัญยิ่งที่ “สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย” จะเป็นสื่อกลางและแรงขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการรับช่วงการผลิตไทย มีศักยภาพและความหลากหลายในสินค้าและบริการ จนกลายเป็นผู้นําการรับช่วงการผลิตโลก