พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนา ทดสอบชิ้นส่วนอากาศยาน

20 June 2022

ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ในงานประชุมใหญ่สามัญสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย ประจำปี 2564 ณ ห้อง Grand Hall 201 ศูนย์การประชุมและนิทรรศการไบเทค สมาคมไทยซับคอน ผนึกกำลังภาครัฐและภาคเอกชน ลงนาม MOU สร้างความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา ทดสอบชิ้นส่วนอากาศยาน ร่วมกัน 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) , สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) , บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) , สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcon)

ในการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินธุรกิจของแต่ละฝ่ายเพื่อร่วมมือกันพัฒนาขีดความสามารถของทั้ง 4 ฝ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการผลักดันการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ อีกทั้งสนับสนุนการซ่อมบำรุงอากาศยานพร้อมกับการสนับสนุนากห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานในการทดสอบชิ้นงาน และให้การรับรองคุณภาพความปลอดภัยในการใช้งานตามมาตรฐาน AS9100D ทำให้ผู้ใช้งานมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยในชิ้นส่วนอากาศยานที่ผลิตภายในประเทศ

โดยได้รับเกียรติจาก ศ.(วิจัย)ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบัน วว. , พลอากาศเอกศุภชัย สายเงิน กรรมการผู้จัดการ TAI , นายเกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ นายกสมาคมไทยซับคอน , นายปกรณ์ อาภาพันธ์ ผู้อำนวยการ GISTDA

ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาทดสอบชิ้นส่วนอากาศยานในวันนี้ โดยมี ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว , นาวาอากาศโทสุรศักดิ์ ภู่ทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ TAI , นายสมควร จันทร์แดง ประคลัสเตอร์อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ , นาย ดำรงฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการ GISTDA ได้เป็นสักขีพยาน

ทั้ง 4 องค์กรจะร่วมกันดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1)ศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตชิ้นส่วนอากาศยานอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดัดแปลง ปรับปรุงอากาศยาน/อากาศยานไร้คนขับ/อวกาศยาน ที่สร้างทดแทนผลิตและซ่อมบริภัณฑ์ภาคพื้น รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนการซ่อมบำรุงอากาศยานและประสานงานกับหน่วยผู้ใช้งานในการรับรองมาตรฐาน เพื่อนำผลการวิจัยและพัฒนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
2)พัฒนาห้องปฏิบัติการในประเทศให้มีขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์ ทดสอบคุณภาพของชิ้นส่วนอากาศยานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้ได้มาตรฐานของประเทศและมาตรฐานสากล
3)สนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการการวิจัย พัฒนา และผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณิชย์
4)จัดฝึกอบรมและจัดประชุมวิชาการการเผยแพร่บทความทางวิชาการ / หรือการจัดทำโครงการให้คำปรึกษาและแนะแนวการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
5)ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์องค์กรของทั้ง 4 หน่วยงานให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน
6)สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับการรับรองมาตรฐานคุณภาพชิ้นส่วนอากาศยานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
7)ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างองค์กรในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
8)สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร เอกสารทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานในการบริหารการจัดการองค์กรและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

 

ช่องทางการติดต่อสมาคมไทยซับคอน
Facebook : https://www.facebook.com/thaisubconassociation/ 
Tel : 02-713-6540-1 
ID Line : @thaisubcon , https://lin.ee/6HsM4Ef